วิสัยทัศน์และพันธกิจ
GSPA NIDA วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์
สถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ผลิตผู้บริหารและผู้นำในภาครัฐเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
- ผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการบริหารอย่างมืออาชีพ และสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญนั้นไปใช้ในการบริหารและการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณธรรม
- ผลิตงานวิจัยและผลงานทางวิชาการเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศ
- ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการบริหารกับองค์การในภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและในต่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อัตลักษณ์ของคณะรัฐประศาสนศาสตร์
“ผู้นำที่พร้อมทั้งความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นมืออาชีพอย่างมีคุณธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง”
หมายถึง ความมุ่งมั่นของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่จะผลิตบุคลากรให้เป็นผู้นำที่เด่นในด้านความรู้และมีคุณธรรม ทำงานอย่างมืออาชีพเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง คณะรัฐประศาสนศาสตร์จะสร้างมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศในด้านทฤษฎีทางด้านการบริหารการพัฒนา และนำองค์ความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงควบคู่กับหลักธรรมาภิบาลและคุณธรรม

ค่านิยมร่วม GSPA เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษของชื่อคณะรัฐประศาสนศาสตร์ในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “Graduate School of Public Administration”
GSPA ชื่อย่อภาษาอังกฤษที่เป็นที่รู้จักจากสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ คณะจึงนำชื่อย่อภาษาอังกฤษมาใช้เป็นตัวแทนในการสื่อค่านิยมร่วมของคณะ
- G เป็นพยัญชนะแรกของค่านิยม “Governance” ซึ่งสื่อความหมายว่า ความมุ่งมั่นของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่ต้องการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลทางการบริหารทั้งในคณะและองค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
- S เป็นพยัญชนะตัวที่สองของค่านิยม “Social Responsibility and Sustainability” ซึ่งสื่อความหมายว่าความมุ่งมั่นของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่พัฒนาองค์ความรู้ทางการบริหารเพื่อออกไปรับใช้สังคมส่วนรวม และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- P เป็นพยัญชนะตัวที่สามของค่านิยม “Partnership and Participation” ซึ่งสื่อความหมายว่า ความมุ่งมั่นของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่ต้องการให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการขับเคลื่อนองค์การทั้งในระดับสถาบันและในระดับชาติ
- A เป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของค่านิยม “Academic Excellence” ซึ่งสื่อความหมายว่า ความมุ่งมั่นของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศทางด้านการเรียน การสอนและการวิจัยทางด้านการบริหารด้วยการสร้างเครือข่าย และพันธมิตรทางการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการกับสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ