หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ปริญญาโท MPA

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ชื่อปริญญา

ชื่อปริญญาและชื่อย่อปริญญา

ชื่อปริญญาและชื่อย่อปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | (รป.ม.)

ปรัชญาการเรียนการสอน

ปรัชญาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ซึ่งเกิดจากหลักฐานที่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. ผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมา ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนได้ อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ทางรัฐประศาสนศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและประเทศชาติ
3. สร้างความตระหนักให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
4. พัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความใส่ใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายความรู้ และเข้าใจหลักการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารงานภาครัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพอย่างมีวินัยและอย่างมีความรับผิดชอบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำของตนในการสนับสนุนให้ผู้อื่นใช้คุณธรรม จริยธรรมในการแก้ไขปัญหา และให้ ความร่วมมือกับผู้อื่นในการจัดการในการแก้ไขปัญหา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: วิเคราะห์ปัญหาโดยการคัดกรองข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารงานภาครัฐ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาโดยยึดหลักความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 6: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะโดยการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้วยตนเอง เพื่อขยายองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ และสื่อสารข้อสรุปไปยังกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ
 

ข้อกำหนดหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร
  • แผน ก2 ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 9 วิชาหรือ 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 39 หน่วยกิต
  • แผน ข ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 12 วิชาหรือ 36 หน่วยกิต  และวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต  รวม 39 หน่วยกิต
 

ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. ประสบการณ์การในการทำงาน ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน โดยการสอบข้องเขียนและ/หรือสัมภาษณ์
 

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก2 แผน ข
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 9 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้  สอบข้อเขียน สอบข้อเขียน
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวม 39 หน่วยกิต 39 หน่วยกิต

วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร มี 9 สาขาวิชาเอก ดังนี้

          1. องค์การและการจัดการ
          2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์
          3. การบริหารการเงินและการคลัง
          4. นโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์
          5. การปกครองท้องถิ่น
          6. การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
          7. การจัดการองค์การที่ไม่แสวงหากำไร
          8. การจัดการสำหรับนักบริหาร
          9. การบริหารงานเมือง

คำอธิบายรายวิชา

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน
ศูนย์การศึกษาในที่ตั้ง
1. ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 – 11
148 ถนนเสรีไทย แขวง คลองจั่น
เขต บางกะปิ กรุงเทพ ฯ 10240
โทรศัพท์ 02-375-8778 โทรสาร 02-375-9164
อีเมล: info.gspa@nida.ac.th
 
ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง  

1. ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (ศูนย์การศึกษา จ.พิษณุโลก)
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ชั้น 2
410 ถนนพิษณุโลก-บึงพระ ตำบลบึงพระ
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-337-518 โทรสาร 055-337-518
อีเมล: atchara.c@nida.ac.th

2. ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (ศูนย์การศึกษา จ.อุดรธานี)
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี อาคารเอราวัณ ชั้น 3
(โครงการปริญญาโท ภาคพิเศษ)
เลขที่ 380 หมู่ที่5 ถนนอุดร-เลย ตําบลบ้านเลื่อม อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์ 042-243-3880 โทรสาร 042-243-388
อีเมล: supavadee.kot@nida.ac.th
3. ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (ศูนย์การศึกษา จ.นครราชสีมา)
โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2 อาคารศรีสุระ ชั้น 4
เลขที่ 118 หมู่ 1 ถนนเลียบคลองชลประทาน
ตําบลหนองกระทุ่ม อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-756-790 โทรสาร 044-756-790
อีเมล: dararat.m@nida.ac.th
อีเมล: napawan.j@nida.ac.th
4. ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (ศูนย์การศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี)
โรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยี
8/23 ถนนศรีวิชัย ตำบลมะขามเตี้ย
อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-281-184 โทรสาร 077-22031
อีเมล: jintana.nil@nida.ac.th

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
  • เรียนในเวลาราชการ    หน่วยกิตละ 1,500 บาท (ตลอดหลักสูตร ประมาณ 97,000 บาท)
  • เรียนนอกเวลาราชการ หน่วยกิตละ 3,700 บาท** (ตลอดหลักสูตร ประมาณ 180,000 บาท)
 

หมายเหตุ ** รวมค่าบำรุงห้องสมุด ค่าเทคโนโลยีสารสนเทศ  ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานภายในประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ
1. ผู้บริหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
2. นักการเมืองและข้าราชการทางการเมือง
3. บุคลากรในหน่วยงานราชการและภาคเอกชน
4. อาจารย์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์
5. ข้าราชการทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
6. อาชีพอิสระอื่น ๆ

 

สมัครเรียนหลักสูตร M.P.A.

ประกาศล่าสุดของหลักสูตรปริญญาโท MPA 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ