หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน

ชื่อปริญญา

ชื่อปริญญาและชื่อย่อปริญญา
การจัดการมหาบัณฑิต (ธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน) | กจ.ม.

ปรัชญาการเรียนการสอน

ปรัชญาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ซึ่งเกิดจากหลักฐานที่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในด้านการจัดการยุคดิจิทัลและความยั่งยืน ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ
2. เพื่อสร้างผู้นำ และผู้บริหารในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริมความความเข้าใจ และความร่วมมือในด้านการจัดการดิจิทัลระหว่างบุคลากรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และผลการวิจัย อันจะนำไปสู่ แนวทางการขับเคลื่อนประเทศในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน
 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะด้านการจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วนในยุคดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: แสดงให้เห็นถึงทัศนคติความเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือ และความเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์การในยุคดิจิทัลบรรลุผล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: วิเคราะห์ปัจจัยความท้าทายและองค์ประกอบความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะจากการวิจัย การค้นคว้าทางวิชาการในด้านการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อขยายองค์ความรู้ และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขององค์การในแต่ละภาคส่วน
 

ข้อกำหนดหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร
  • แผน ก2 ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 9 วิชาหรือ 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 39 หน่วยกิต
 
 

ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติ ให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี
4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร

          1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
          2. โครงสร้าง หรือองค์ประกอบของหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก2 แผน ข
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 9 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ (โดยข้อเขียน) โดยสอบข้อเขียน โดยสอบข้อเขียน
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวม 39 หน่วยกิต 39 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

— อยู่ระหว่างการปรับปรุง —

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน
ศูนย์การศึกษาในที่ตั้ง
1. ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 – 11
148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น
เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-375-8778 โทรสาร 02-375-9164
อีเมลส่วนกลาง: info.gspa@nida.ac.th

แก้ไขล่าสุดเมื่อ