คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Public Administration Program


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration (M.P.A.)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร MPA
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและบริบทโลกทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (Obj 1)
2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตผู้มีทักษะในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางสังคมและการบริหารรัฐกิจอันนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่สังคม (Obj 2)
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความตระหนักและธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความเป็นธรรมในสังคม (Obj 3)
4. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อการบริหารและการพัฒนาประเทศตามแนวทางที่ยั่งยืน (Obj 4)
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)
ELO 1: มีความเข้าใจ และสามารถอธิบายหลักการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ELO 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานสาธารณะ โดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพอย่างมีความรับผิดชอบ
ELO 3: สามารถออกแบบการดำเนินการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ด้านบริหารภาครัฐบนมาตรฐานจริยธรรมและธรรมาภิบาล
ELO 4: สามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ รวมถึงสังเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาวิชาเฉพาะเพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ
ELO 4.1: สามารถวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ พฤติกรรมมนุษย์ และภาวะผู้นำในองค์การ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และนำเสนอแนวทางในการบริหาร การแก้ไขปัญหาองค์การ และการพัฒนาองค์การ และออกแบบโครงสร้างองค์การเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกองค์การและการจัดการ)
ELO 4.2: สามารถวิเคราะห์ปัญหาของบุคลากร ปัญหาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทนของบุคลากรเพื่อประยุกต์และสังเคราะห์องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา จัดทำข้อเสนอแนะการออกแบบระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์การ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาวิชาเอกการจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ELO 4.3: สามารถวิเคราะห์งบประมาณองค์การ ระบบบริหารในสถาบันการเงิน และผลกระทบของการลงทุนสาธารณะ เพื่อสังเคราะห์องค์ ความรู้และนำเสนอแนวทางในการจัดทำงบประมาณขององค์การ แนวทางบริหารการเงินขององค์การ และแผนการตัดสินใจสำหรับการลงทุนสาธารณะ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกการบริหารการเงินและการคลัง)

ELO 4.4: สามารถเข้าใจกระบวนการนโยบายสาธารณะ วิเคราะห์เนื้อหา ปัจจัยความสำเร็จและประเมินผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาภาครัฐเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ และนำเสนอแนวทางในการวางแผนและบริหารงานโครงการและนโยบายรัฐ จัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาภาครัฐ และการกำหนดนโยบายสาธารณะที่สอดคล้องกับยุคการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัต ตลอดจนแนวทางในการจัดการวิกฤติการณ์ และสาธารณภัย (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกนโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์)

ELO 4.5: สามารถวิเคราะห์โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นและใช้ทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเชิงวิพากษ์ในประเด็นของการกระจายอำนาจ
การคลังท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการทรัพยากรบุคคลท้องถิ่น และการจัดการท้องถิ่นได้ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะ
สาขาวิชาเอกการปกครองท้องถิ่น)
ELO 4.6: สามารถวิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำนโยบายและข้อเสนอแนะในการป้องกันควบคุมและแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมสมัยใหม่ โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัย (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะ
สาขาวิชาเอกบริหารงานยุติธรรมทางอาญา)
ELO 4.7: สามารถวิเคราะห์สภาพการณ์และบริบทของภาคประชาสังคมเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการองค์การที่ไม่แสวงกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถเขียน
ข้อเสนอโครงการเพื่อการระดมทุน การจัดการการเงินและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การไม่แสวงกำไร (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกการจัดการองค์การที่ไม่แสวงกำไร)
ELO 4.8: สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานภาครัฐ เพื่อสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้ด้านการจัดการสำหรับนักบริหารไปจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารงานภาครัฐ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกการจัดการสำหรับนักบริหาร)
ELO 4.9: สามารถวิเคราะห์โครงสร้างระบบการบริหารปกครองของเมือง เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในการจัดการเมือง นโยบายเมือง ปัญหาสังคมและ
ความเหลื่อมล้ำในเมือง เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และนำเสนอแนวทางในการจัดการงานเมืองและแก้ปัญหาสังคมและความเหลื่อมล้ำในเมืองด้วยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วน (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกการบริหารงานเมือง)
ELO 4.10: สามารถวิเคราะห์นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการบริหารงานภาครัฐในยุคดิจิทัลเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และนำเสนอนวัตกรรมเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารราชการ และบริการสาธารณะในยุคดิจิทัล (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะสาขาวิชาเอกรัฐบาลดิจิทัลและนวัตกรรมภาครัฐ)
ELO 5: มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยผ่านกระบวนการศึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อพัฒนาผลงานวิชาการและเผยแพร่องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ (ผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแผน 1 แบบวิชาการ)
ELO 6: มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยผ่านสาระและวิธีการศึกษาวิชาการค้นคว้าอิสระในประเด็นท้าทายการบริหารภาครัฐ หรือปัญหาที่สนใจเพื่อจัดทำข้อสรุป/ข้อค้นพบที่ได้ไปแก้ไขปัญหา
หรือพัฒนาองค์การที่รับผิดชอบ (ผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแผน 2 แบบวิชาชีพ)
ข้อกำหนดของหลักสูตร MPA
  • แผน 1 แบบวิชาการ 9 วิชา หรือ 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 39 หน่วยกิต
  • แผน 2 แบบวิชาชีพ 12 วิชา หรือ 36 หน่วยกิต และการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต รวม 39 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้สมัครหลักสูตร MPA
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบัน ฯ กำหนดให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. ประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับถึงวันสมัคร) กรณีเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ (นอกเวลาราชการ)
3. มีความรู้และทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน กรณีเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ แบบผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (นอกเวลาราชการ)
4. มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบัน ฯ กำหนด
5. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน ฯ โดยสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์
6. มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ ฯ ว่าด้วยการศึกษาของสถาบัน ฯ
โครงสร้างหลักสูตร MPA
หลักสูตรแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แผน คือ แผน 1 แบบวิชาการ แผน 2 แบบวิชาชีพ
หมวดวิชา แผน 1 แบบวิชาการ แผน 2 แบบวิชาชีพ
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 9 หน่วยกิต  9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ โดยสอบข้อเขียน  โดยสอบข้อเขียน
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวม 39 หน่วยกิต 39 หน่วยกิต
สาขาวิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร มี 10 สาขาวิชาเอก
1. สาขาวิชาเอกองค์การและการจัดการ
2. สาขาวิชาเอกการจัดการทรัพยากรมนุุษย์
3. สาขาวิชาเอกการบริหารการเงินและการคลัง
4. สาขาวิชาเอกนโนบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์
5. สาขาวิชาเอกการปกครองท้องถิ่น
6. สาขาวิชาเอกบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
7. สาขาวิชาเอกการจัดการองค์การที่ไม่แสวงกำไร
8. สาขาวิชาเอกการจัดการสำหรับนักบริหาร
9. สาขาวิชาเอกการบริหารงานเมือง
10. สาขาวิชาเอกรัฐบาลดิจิทัลและนวัตกรรมภาครัฐ

ศูนย์การศึกษาในที่ตั้ง
ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 – 11
148 ถนน เสรีไทย แขวง คลองจั่น
เขต บางกะปิ กรุงเทพ ฯ 10240
โทรศัพท์ 0 2 727 3909, 0 2 727 3871 โทรสาร 0 2375 9164
อีเมล: info.gspa@nida.ac.th

  • เรียนในเวลาราชการ 
แผนการศึกษา ปีที่ 1 (บาท/คน) ปีที่ 2 (บาท/คน)
แผน 1 แบบวิชาการ 58,600.- 49,100.-
แผน 2 แบบวิชาชีพ 65,100.- 44,600.-
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายนี้มิได้รวมค่าเอกสารและตำรา และอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประกาศของสถาบันโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้บริหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
2. นักการเมืองและข้าราชการทางการเมือง
3. บุคลากรในหน่วยงานราชการและภาคเอกชน
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) อยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักสูตร รายวิชาที่แสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลง 
ทั้งนี้หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ นางสาวอารีย์ คงสกุล โทร 0-2727-3861