หลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต
สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน
ภาคพิเศษ กรุงเทพมหานคร

- ชื่อหลักสูตร
- ชื่อปริญญา
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- ข้อกำหนดของหลักสูตร
- คุณสมบัติของผู้สมัคร
- โครงสร้างหลักสูตร
- คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร
- เกณฑ์การให้คะแนน
- สถานที่จัดการเรียนการสอน
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน
Master of Management Program in Digital Governance for Sustainability: MDG
การจัดการมหาบัณฑิต (ธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน) | กจ.ม.
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในด้านการจัดการยุคดิจิทัลและความยั่งยืน ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ |
2. เพื่อสร้างผู้นำ และผู้บริหารในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม |
3. เพื่อส่งเสริมความความเข้าใจ และความร่วมมือในด้านการจัดการดิจิทัลระหว่างบุคลากรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และผลการวิจัย อันจะนำไปสู่ แนวทางการขับเคลื่อนประเทศในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัล |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะด้านการจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วนในยุคดิจิทัล |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: แสดงให้เห็นถึงทัศนคติความเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือ และความเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์การในยุคดิจิทัลบรรลุผล |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: วิเคราะห์ปัจจัยความท้าทายและองค์ประกอบความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะจากการวิจัย การค้นคว้าทางวิชาการในด้านการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อขยายองค์ความรู้ และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขององค์การในแต่ละภาคส่วน |
- แผน ข ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 12 วิชาหรือ 36 หน่วยกิต และวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต รวม 36 หน่วยกิต
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติ ให้เข้าเป็นนักศึกษา |
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ |
3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี |
4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด |
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | แผน ข |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต |
หมวดวิชาหลัก | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเอก | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 12 หน่วยกิต |
วิชาการค้นคว้าอิสระ | 3 หน่วยกิต |
สอบประมวลความรู้ (ข้อเขียน) | สอบข้อเขียน |
วิทยานิพนธ์ | – |
รวม | 36 หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต (สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน)
สาระสังเขปรายวิชาและข้อกำหนดเกี่ยวกับบุพวิชาต่างๆ ของหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน ดังต่อไปนี้
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
ND 4000 Foundation for Graduate Studies
แนะนำการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหาร จริยธรรมทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาการ และเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate Studies
สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษา ประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการ อ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป การตีความประโยค การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูล เฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 (3-0-6)
LC 4002 Integrated English Language Skills Development
เนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เชิงวิชาการเบื้องต้น
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
LC 4011 Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies
ฝึกทักษะและกลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่นักศึกษาได้ศึ กษามาก่อนแล้วในวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา เพิ่มเติม ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝน ในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น
ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 (3-0-6)
LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development
ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับ นักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุง ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล
หมวดวิชาหลัก
ดจ 6001 ธรรมาภิบาลยุคดิจิทัลและความยั่งยืน 3 (3-0-6)
DG 6001 Digital Governance and Sustainability
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการจริยธรรมและธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัลในฐานะที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ เกื้อหนุนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสำรวจตัวแบบและกลไกธรรมาภิบาลข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการ ตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐในระบบเปิด การเชื่อมโยงข้อมูล การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วม ภาคีความ ร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เกื้อหนุนให้เกิดความยั่งยืนและประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล
ดจ 6002 เศรษฐกิจยุคดิจิทัลและความยั่งยืน 3 (3-0-6)
DG 6002 Digital Economy and Sustainability
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจดิจิทัล การขับเคลื่อนและการพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ทิศทางและแนวโน้มของ เศรษฐกิจยุคดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนผลกระทบของระบบเศรฐกิจยุคดิจิทัลต่อการพัฒนาประเทศ และภูมิภาคต่างๆ ของโลก
ดจ 6003 การวิจัยและพัฒนาด้านธรรมาภิบาลยุคดิจิทัลและความยั่งยืน 3 (3-0-6)
DG 6003 Research and Development in Digital Governance and Sustainability
ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือ และวิถีทางในการสร้างนวัตกรรมทางการบริหาร ด้วยแนวทางการวิจัย และพัฒนา พร้อมเรียนรู้เครื่องมือที่จะนำไปสู่การบริหารงานขององค์การอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็น พลวัต เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นธรรมาภิบาลดิจิทัลขององค์การ ภายใต้กรอบแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดจ 6004 ความผูกพันของพลเมืองในธรรมาภิบาลยุคดิจิทัลและความยั่งยืน 3 (3-0-6)
DG 6004 Citizen Engagement in Digital Governance and Sustainability
ศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลดิจิทัลและสังคม กลไกความเชื่อมโยงและความผูกพันกับ พลเมืองในพลวัตโลก การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ การสนับสนุนบทบาทของ ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริการเพื่อพัฒนาประเทศตามพลวัตของโลก การสนับสนุนบทบาทของประชาชน ในการบริการการพัฒนาประเทศในพลวัตโลก
หมวดวิชาเอก
ดจ 7001 ผู้นำยุคดิจิทัลและนวัตกรรมเทคโนโลยีในองค์การสมัยใหม่ 3 (3-0-6)
DG 7001 Digital Leadership and Innovative Technology in Modern Organization
ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลในการขับเคลื่อนองค์การสมัยใหม่ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี การ พัฒนาทักษะเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำป็นสำหรับผู้นำองค์การยุคใหม่ องค์การสมรรถนะสูง การเพิ่ม ศักยภาพในกระบวนการตัดสินใจ การสื่อสาร การกำกับดูแล การพัฒนาทุนมนุษย์ยุคดิจิทัล และการติดตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคโลกพลิกผัน
ดจ 7002 นวัตกรรมการจัดการและการปรับเปลี่ยนยุคดิจิทัล 3 (3-0-6)
DG 7002 Management Innovation and Digital Transformation
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม การออกแบบการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี การนำ เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนองค์การ ระบบการทำงาน เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน การปรับเปลี่ยนระบบงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การในยุคดิจิทัล
ดจ 7003 การวิเคราะห์ข้อมูลและการพัฒนานโยบายสาธารณะ 3 (3-0-6)
DG 7003 Data Analytics and Public Policy Development
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในกระบวนการกำหนด นโยบายสาธารณะ เครือข่ายและการเรียนรู้ทางสังคม การคาดการณ์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์ทางเลือก นโยบาย และการฉายภาพอนาคตบนฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ ตลอดจนบทบาทของข้อมูลเพื่อการ ตัดสินใจเชิงนโยบายการพัฒนานโยบายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ
หมวดวิชาเลือก
ดจ 7101 การจัดการโครงการยุทธศาสตร์ในยุคโลกพลิกผัน 3 (3-0-6)
DG 7101 Strategic Project Management in Global Disruption
ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อรับมือกับโลกพลิกผัน ซึ่งเป็นผลจาก เปลี่ยนแปลงและวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตองค์การ ตลอดจนวิกฤตจากภัยพิบัติ โดยมี จุดเน้นศึกษาการพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์เพื่อรับมือและฟื้นวิกฤตการณ์
ดจ 7102 เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการบริการภาครัฐเพื่อสังคมล้ำสมัย 3 (3-0-6)
DG 7102 Digital Technology and Public Service Innovation for Smart Society
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหาร และการพัฒนาการให้บริการ ที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้รับบริการ และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง ที่มีความผันผวน ซับซ้อน และมีความเป็นพลวัตสูง ศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำในยุคดิจิทัลเพื่อการ สร้างสรรค์สังคมล้ำสมัยและเป็นธรรม
ดจ 7103 กฎหมายดิจิทัลและนโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 3 (3-0-6)
DG 7103 Digital Law and Cyber Security Policy
ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับดิจิทัลที่ส่งผลต่อรัฐบาลดิจิทัล และการบริหารงาน ภาครัฐ การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน และการให้บริการสาธารณะผ่าน ระบบปฏิบัติการดิจิทัล ศึกษานโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การปกป้องข้อมูลและการพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัลกับผลกระทบต่อความมั่นคงและสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน
ดจ 7104 เทคโนโลยีการเงินและธรรมาภิบาลภาครัฐ 3 (3-0-6)
DG 7104 Financial Technology and Public Sector Governance
ศึกษาเกี่ยวกับการพลิกโฉมของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เทคโนโลยีการเงินกับกฎระเบีย บและกฎเกณฑ์การเงินการคลังภาครัฐ ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม การเงินสำหรับธุรกิจสตาร์ทอั พ เทคโนโลยีการเงินและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เงินสกุลดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีกา รเงินในบริ บทระดับโลก อนาคตของเทคโนโลยีการเงิน
ดจ 8800 การฝึกงาน 3 (0-9-3)
DG 8800 Internships
มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและพัฒนาตนเองนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ทั้ง ในด้านความคิด การตัดสินใจ การวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ การแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้รับประสบกา รณ์จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
ดจ 8900 การศึกษาตามแนวแนะ 3 (0-0-12)
DG 8900 Directed Studies
เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยนักศึกษารวมกลุ่มกันเพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่น่าสนใจภายใต้ คำแนะนำของอาจารย์ โดยเรื่องที่เลือกศึกษาจะเป็นการเขียนกรณีศึกษาธรรมาภิบาลยุคดิจิทัลและความยั่งยืน ในด้านใดด้านหนึ่ง เป็นการศึกษาปัญหาทางการบริหารและนำเสนอกระบวนการแก้ปัญหา หรือศึกษาเพื่อ พิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางการบริหาร หรือนำตัวแบบที่น่าสนใจจากการเรียนรู้จากหลักสูตรไป ประยุกต์กับกรณีทางการบริหารที่เป็นจริง ซึ่งในการศึกษาวิชานี้นักศึกษาสามารถกำหนดประเด็นด้วยความคิด ริเริ่มร่วมกันของกลุ่ม
หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ
ดจ 9000 การค้นคว้าอิสระ 3 (0-0-12)
DG 9000 Independent Study
วิชาการค้นคว้าอิสระโดยประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีเพื่อจัดทำโครงการศึกษาส่วนบุคคล ห รือโครงการศึกษาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลยุคดิจิทัลและความยั่งยืน
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์
ดจ 9004 วิทยานิพนธ์ 12 (0-0-48)
DG 9004 Thesis
เทียบเป็นรายวิชาไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา
สถานที่จัดการเรียนการสอน |
---|
ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 0 2727 3897 อีเมล: sarunya@nida.ac.th |