
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จัดตั้ง
ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ในสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบัณฑิตวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอินเดียนามาร่วมวางหลักสูตร และดำเนินการสอนจนถึงปี พ.ศ. 2506
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
รัฐบาลไทยได้จัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตและพัฒนาบุคคลทางการบริหารการพัฒนา ตามพระราชบัญญัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
พ.ศ. 2509 กำหนดให้คณะรัฐประศาสนศาสตร์ผลิตพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วงแรกคณะรัฐประศาสนศาสตร์เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทภาคปกติ ต่อมาปี พ.ศ. 2527
และเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกภาภาษาไทย

พ.ศ. 2530 คณะรัฐประศาสนศาสตร์เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ กรุงเทพมหานคร และ คณะยังให้ความสำคัญในเรื่องโอกาสทางการศึกษา ประกอบกับผู้บริหารสถาบันการศึกษาในภูมิภาคได้ร่วมมือกับคณะรัฐประศาสนศาสตร์ในการเปิดการเรียนการสอนโครงการปริญญาโท ภาคพิเศษในภูมิภาค
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ขยายการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สำหรับนักบริการ ไปส่วนภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสให้นักบริการภาครัฐและภาคเอกชน อยู่ในต่างจังหวัดได้เข้าศึกษาหลักสูตรนี้ โดยมิต้องเดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ในช่วงแรก พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ตามโครงการ NIDA-UTC (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์) โดย จัดการเรียน และต่อมาได้ย้ายสถานที่ทำการไปจังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2541
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จังหวัดลำปาง ตั้งสำการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรหมนักงาน ณ วิทยาลัยโยนก 5 รุ่น และในปี พ.ศ. 2541 มีนักศึกษาบางส่วนได้ย้ายมาเรียนที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดลำพูน
- คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งสำนักงาน ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- โรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ) อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงปัจจุบัน
จัดการเรียนการสอนศูนย์การศึกษา ณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา (ณ วิทยาลัยครูนครราชสีมา)
ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุบลธานี
เตรียมสร้างอาคารศูนย์การศึกษาถาวร ณ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

- การขยายโอกาสทางการศึกษาในส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งแรก ได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยครูนครราชสีมา (ชื่อขณะนั้น) ในการให้ใช้สถานที่เป็นห้องเรียน ห้องสมุด และเป็นผู้ร่วมบริหารงานตลอดมา และจัดการเรียนการสอนจนถึงปี 2537
- และในช่วงปี 2534-2535 นักศึกษาของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ จังหวัดนครราชสีมา รุ่นที่ 1 รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ได้ปรึกษาหารือกับผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท ภาคพิเศษ จังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานที่ถาวรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้มี
- การหารือกับผู้นำ นักบริการตลอดจนนักการเมืองระดับภูมิภาคและท้องถิ่นถึงความเป็นไปได้ในการจัดหาที่ดินสาธารณะมาใช้ประโยชน์ และในที่สุดคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับอนุมัติการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 และได้มีการสร้างศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาในเวลาต่อมา และในปีการศึกษา 2538 ได้ย้ายสถานที่ทำการจากวิทยาลัยครูนครราชสีมามาจัดการเรียนการสอนในศูนย์การศึกษาสีคิ้ว การเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความสนใจจากผู้สนในเรียนที่มีภูมิหลังการศึกษาหลากหลายสาขาทั้ง สายสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีความความต้องการสมัครเข้าเรียนจำนวนมาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ จำต้องขยายศูนย์การศึกษาจากจังหวัดนครราชสีมา และต่อมาคณะได้เปิดโครงการปริญญาโทภาคพิเศษเพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนไปยังจังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักงานอยู่ที่โรงเรียนโปลีเทคนิค จังหวัดอุบลราชธานี และเปิดการเรียนการสอน 13 รุ่น
ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการพัฒนาเป็นภาคภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนด้านการบริหารการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์การศึกษาอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในภาคใต้โดยเฉพาะประชาชนที่ประกอบอาชีพส่วนตัว ทำงานในบริษัทเอกชน และรับราชการ ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ตอนล่างที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภออื่น ๆ ที่มีพื้นที่ติดกับจังหวัดสงขลา และอำเภอ ต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี โดยสถาบัน ฯ มุ่งหวังให้การศึกษาในระดับปริญญาโท เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการของนักบริหารมืออาชีพ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้ทำความร่วมมือกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ภายใต้การบริหารของ นายเคร่ง สุวรรณวงศ์นายกเทศมนตรีในสมัยนั้น และได้มอบอาคารอเนกประสงค์ของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) ตำบลคลองเรียน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย สำนักงานและห้องเรียนที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนจะทำการอยู่บน ชั้น 3 และชั้น 4 ของอาคารดังกล่าว และได้เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท รุ่นที่ 1 เมื่อปีการศึกษา 2535 และดำเนินการเปิดการเรียนการสอนเรื่อยมาจนถึงรุ่นที่ 22
ต่อมาศูนย์การศึกษาได้ย้ายสำนักงานและสถานที่เรียนมาที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เลขที่ 64 ถนนรามวิถี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะรัฐประศาสนศาสตร์และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ได้จัดสรรพื้นที่สำนักงานและสถานที่เรียนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บริเวณชั้น 2 และ ชั้น 3 ให้กับคณะดำเนินการจัดการเรียนการสอน

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านหนองขาม หมู่ที่ 8 ตำบลมิตรภาพ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 486 ไร่ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 เพื่อเป็นพื้นที่ตั้งสถานศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งเพื่อฝึกการฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่นและการฝึกอบรมผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ใกล้เคียง ต่อมาสถาบันได้จัดทำแผนพัฒนาที่ดินแปลงนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมอบหมายให้อาจารย์ในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้บริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ สำหรับนักบริหารในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยประสานกับคณะกรรมการการวางผังแม่บท และกองแผนงานสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อจัดทำแผนงานโครงการต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้ความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ ประชาชนและเอกชน
ต่อมา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับความกรุณาจาก พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในอันที่จะสนับสนุนการศึกษาในระดับสูงแก่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ กำลังทรัพย์ และกำลังแรงงานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถาบัน ฯ โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 อาคารเรียนหลังแรกของวิทยาเขตสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สูง 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งห้องเรียน ห้องฝึกอบรม สำนักงาน ห้องสมุด และห้องพักสำหรับอาจารย์ โดยลักษณะภายนอกของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงระหว่างการก่อสร้าง สถาบันได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ให้การสนับสนุนการก่อสร้างถนนชั่วคราวเข้าสู่ตัวอาคาร กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างสระน้ำ จำนวน 3 สระ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนการปลูกพันธ์ไม้ต่าง ๆ ขณะเดียวกันนักศึกษาและคณาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมบริจาคเงินและปัจจัยอื่น ๆ ทำให้อาคารหลังแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วิทยาเขตสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ชื่ออาคาร “พระราชธรรมเจติอาจารย์” สามารถเริ่มตั้งหลักปักฐานได้ ในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงได้ย้ายสำนักงานจากวิทยาลัยครูนครราชสีมามายัง ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
และต่อมา คณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ร่วมบริจาคเงิน เพื่อสร้างอาคารหลังที่ 2 เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงครองราชย์สมบัติครบ 50 พรรษา ทั้งนี้ พระราชธรรมเจติยาจารย์ยังคงให้ความเมตตาที่จะให้การสนับสนุนและรับผิดชอบในการก่อสร้างต่อไป และได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันพุธที่ 27 ธันวาคม 2538
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ย้ายสถานที่ทำการจากศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ทำความร่วมมือกับ โรงเรียนสุรนารี 2 ในการตั้งสำนักงานศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อาคาร 3 (ศรีสุระ) ชั้น 4 จนถึงปัจจุบัน
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัด ภูเก็ต สำนักงานที่ตั้ง ณวิทยาลัยอาชีวะ จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6 รุ่น
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี ทำความร่วมมือกับโรงเรียนอุดรวิทยา จังหวัดอุดรธานี ริเริ่มจากความคิดริเริ่มของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ปริญญาโทพิเศษ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ทำงานที่จังหวัดอุดรธานีเดินทางไปเรียนที่ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว ในสมัยนั้นมีความประสงค์จะส่งเสริมให้พี่น้องลูกหลานชาวจังหวัดอุดรธานี มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท กับสถาบันที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษา จึงได้ปรึกษากับคณาจารย์นิด้าให้นำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ มาเปิดสอนที่อุดรธานี ได้จัดหาสถานที่ ที่จะใช้เป็นศูนย์การเรียนการสอนในจังหวัดอุดรธานี ที่สุดมีความเห็นว่าโรงเรียนอุดรวิทยา เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดเพราะตั้งอยู่กลางใจเมืองอุดรธานี การเดินทางสะดวกสบายจึงได้นำเรื่องเข้าปรึกษากับ คุณวิบูลย์ ตรีวัฒน์สุวรรณ นายกสมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีนอุดรธานี สมัยที่ 1 ซึ่งคุณวิบูลย์ ตรีวัฒน์สุวรรณ มีความยินดีและเห็นชอบด้วย จึงได้อนุญาตให้คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ใช้โรงเรียนอุดรวิทยาเป็นศูนย์การศึกษาการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ เพราะโรงเรียนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและให้การอุปถัมภ์ของสมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีนอุดรธานี จึงได้จัดทำโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาชั้นปริญญาโท ภาคพิเศษ ส่วนภูมิภาค จังหวัดอุดรธานี ระหว่างคณะรัฐประศาสนศาสตร์กับสมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีนอุดรธานี ลงนามโดย คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ในสมัยนั้น และนายวิบูลย์ ตรีวัฒน์สุวรรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมพ่อค้าจีนอุดรธานี หลังจากลงนามในสัญญาร่วมโครงการ ฯ นายวิบูลย์ ตรีวัฒน์สุวรรณ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่
เมื่อเดือน มีนาคม 2538 ในระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียน นักศึกษาปริญญาโท ภาคพิเศษ อุดรธานี รุ่นที่ 1 ไปขอใช้สำนักงานคลังเขต 4 เป็นสถานที่เรียนก่อน จนกระทั่งอาคารเรียนสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายมาเรียนที่อาคารโรงเรียนอุดรวิทยา (ชั้น 3) เมื่อเดือนมกราคม 2539
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้ย้ายสถานที่ทำการมายัง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จนถึงปัจจุบัน
ริเริ่มหลักสูตรใหม่หนึ่งเดียวในประเทศไทย
เปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิตรุ่นแรก
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2541 ให้เปิดการสอน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการสำหรับนักบริหาร) ภาคพิเศษ จังหวัดชลบุรี โดยได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ โดยใช้สถานที่ของโรงเรียน โพธิสัมพันธ์พิทยาคาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยเปิดสอนทั้งหมด 3 รุ่น ต่อมาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ย้ายมาใช้สถานที่ ณ วิทยาลัยมหาดไทย ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กับกระทรวงมหาดไทย โดยกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ใช้อาคารและสถานที่ บริเวณชั้น 3 ของอาคารวิทยาลัยมหาดไทย โดยการใช้อาคารและสถานที่ของวิทยาลัยมหาดไทย ในการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ จะจัดสรรทุนการศึกษาให้ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเข้าเรียนในศูนย์การศึกษาของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ทั่วประเทศ
เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจพิษณุโลก และต่อมา ปี พ.ศ. 2559 ได้ย้ายสำนักงาน ณ สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์การศึกษาจังหวัดลำพูน ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 19 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา พร้อมอาคารคอนกรีต 1 หลัง สูง 4 ชั้น ณ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จาก นางเดือนฉาย อัมพุนันท์ นายฉัฏชัย อัมพุนันท์ นายเมธี วุฒิฉายานันท์ และนางนันต์สิริ เอื้อคารวะ เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ศูนย์การศึกษาจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 ถึงปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันสถาบันได้ปิดทำการเรียนการสอน และสถานที่ดังกล่าวถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน” สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสังคม
เปิดหลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิตเป็นหลักสูตรนานาชาติ
เปิดหลักสูตรการจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต
ศูนย์การศึกษาสี่คิ้ว จ.นครราชสีมา
เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก
ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและบริหารจัดการหลักสูตร
ตามหลักเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาสากล
คณะ รศ. ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2511-ปัจจุบัน
หลักสูตรปริญญาโทได้รับการรับรองคุณภาพตามหลักเกณฑ์ เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอาเซียน
(Asian university network-Quality Assurance; Aun-qa)

หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต และเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพสากลตามหลักเกณฑ์เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอาเซียน
ได้รับรองคุณภาพหลักสูตรเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 (Certificate Number: AP619NIDAMAR21)