

สถานที่การเรียนการสอน
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีเครื่องไม้เครื่องมือและสาธารณุปโภคที่ทันสมัยไว้บริการ เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา อาทิ ห้องสมุด Living & Digital Library, ห้องประชุมและห้องเรียนที่ทันสมัย, บริการห้องคอมพิวเตอร์, บริการเครือข่ายไร้สาย (WI-FI), กีฬาและนันทนาการ, อาคารนิด้าสัมพันธ์ (อาคารที่จอดรถ) และอื่นๆ อีกมากมาย
จุดเด่นของหลักสูตร
1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาตามหลักเกณฑ์ AUN-QA
2. สอนโดยคณาจารย์ระดับปริญญาเอก
3. บูรณาการความรู้จากภาควิชา ภาคปฏิบัติ และประสบการณ์สามารถนำไปประยุกต์ได้จริง
4. สิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
5. เครือข่ายนักศึกษาและศิษย์เก่า

การเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ
ห้องสมุดเพื่อการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ จัดหาทรัพยากรทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสนันสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันห้องเรียนยุคใหม่ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ตอบโจทย์การเรียนการสอนในสภาวะการณ์ปัจจุบัน รองรับการเรียนการสอนทั้งระบบ On Site, Online และ Hybrid ห้องประชุมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รองรับการใช้งานที่หลากหลาย

“เสริมสร้างผู้นำที่พร้อมทั้งความเป็นเลิศทางวิชาการ
และความเป็นมืออาชีพอย่างมีคุณธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
รศ. ดร.พลอย สืบวิเศษ
ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ กรุงเทพมหานคร
สมัครเรียนหลักสูตร
เรียนนอกเวลาราชการ
แผนการศึกษา | ปีที่ 1 (บาท/คน) | ปีที่ 2 (บาท/คน) |
---|---|---|
แผน 2 แบบวิชาชีพ | 95,300.- | 82,200.- |
สอบประมวลความรู้ ค่าสมัคร 500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกมาระดับปริญญาตรี ในสาขาใดสาขาหนึ่งจากมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชนในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
- มีประสบการณ์การทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันรับสมัคร
ระบบการศึกษา
- ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Public Administration)
- ศึกษาตามหลักสูตร แผน ข (ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์)
- หลักสูตร 2 ปี ศึกษาในระบบ Block Course System โดยเรียนครั้งละ 1 วิชา (3 หน่วยกิต) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ (รวม 45 ชั่วโมงต่อวิชา)
- เรียนเต็มวัน นอกเวลาราชการ (เน้นวันเสาร์)
- เรียนครบหลักสูตร (13 วิชา) นักศึกษาต้องผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
ความพิเศษของหลักสูตร
- โครงสร้างรายวิชาเรียนแบบ Block courses
- หลักสูตรมีเครือข่ายศิษย์เก่าที่เข้มแข็งและมีชื่อเสียง
- เตรียมความพร้อมก่อนและปรับพื้นฐานก่อนเรียน
- สามารถโอนย้ายสถานที่เรียน หรือเข้าเรียนในศูนย์การศึกษาของคณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- ศึกษาดูงานในประเทศ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน
- มีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- กิจกรรมพัฒนานักศึกษา เช่น ศึกษาดูงานในประเทศ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน
- มีกองทุนกู้ยืม สำหรับนักศึกษาเพื่อชำระค่าลงทะเบียน
-
สามารถโอนย้ายไปศึกษา ณ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งที่คณะเปิดสอน
(จ.พิษณุโลก, จ.นครราชสีมา,จ.อุดรธานี และ จ.สุราษฎร์ธานี)
สมัครเรียน
แผน 2 แบบวิชาชีพ สาขาวิชาเอกการจัดการสำหรับนักบริหาร
1. หมวดวิชาหลัก (12 หน่วยกิต)
รศ 6000 ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย
รศ 6010 การเมือง การบริหาร และการพัฒนาที่ยั่งยืน
รศ 6020 ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
รศ 6030 การวิเคราะห์องค์การ
2. สาขาวิชาเอกการจัดการสำหรับนักบริหาร (9 หน่วยกิต)
-
รศ 7080 การวางแผน การบริหารและการประเมินผลโครงการ
-
รศ 7081 การประเมินสมรรถนะและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
-
รศ 7082 การวิเคราะห์การเงินและงบประมาณ
3. หมวดวิชาเลือก (15 หน่วยกิต)
รศ 7900 เศรษฐกิจโลกเชิงพลวัต
รศ 7901 การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
รศ 7902 การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
รศ7903 การบริหารการเงินและการคลัง
รศ 7904 นโยบายสาธารณะและนวัตกรรม
4. วิชาการค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)
รศ 9000 การค้นคว้าอิสระ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected learning Outcomes)
ELO1 มีความเข้าใจ และสามารถอธิบายหลักการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ELO2 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานสาธารณะ โดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพอย่างมีความรับผิดชอบ
ELO3 สามารถออกแบบการดำเนินการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ด้านบริหารภาครัฐบนมาตรฐานจริยธรรมและธรรมาภิบาล
ELO4 สามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ รวมถึงสังเคราะห์องค์ความรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติ
ELO5 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานภาครัฐ เพื่อสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้ด้านการจัดการสำหรับนักบริหารไปจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารงานภาครัฐ
ELO6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยผ่านสาระและวิธีการศึกษาวิชาการค้นคว้าอิสระในประเด็นท้าทายการบริหารภาครัฐ หรือปัญหาที่สนใจ เพื่อจัดทำข้อสรุป/ข้อค้นพบที่ได้ไปแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาองค์การที่รับผิดชอบ
ด้านภาวะผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
และเสียสละเพื่อส่วนร่วม
(ปีการศึกษา 2564)
(ปีการศึกษา 2565)




