หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต | (รอ.ม.)
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในด้านการจัดการทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจ |
2. เพื่อสร้างผู้บริหาร และผู้นำในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม |
3. เพื่อส่งเสริมความความเข้าใจ ความร่วมมือระหว่างบุคลากรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน/ภาคีเครือข่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมอง ทัศนคติ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายแนวคิด และทฤษฎีการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ และเทคนิคด้าน การจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนโดยยึดหลักคุณธรรม และจริยธรรม |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: วิเคราะห์สภาพปัญหา และความท้าทายในการดำเนินงานขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: พัฒนาสมรรถนะของการเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายองค์การ |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะจากการวิจัย การค้นคว้าทางวิชาการเพื่อขยายองค์ความรู้ และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชน |
- แผน ก2 (ภาคปกติ) ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 9 วิชาหรือ 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 36 หน่วยกิต
|
- แผน ข (ภาคพิเศษ) ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 12 วิชาหรือ 36 หน่วยกิต และวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต รวม 36 หน่วยกิต
|
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติ ให้เข้าเป็นนักศึกษา |
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ |
3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี |
4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด |
หมวดวิชา | แผน ก2 | แผน ข |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | (ไม่นับหน่วยกิต) | (ไม่นับหน่วยกิต) |
หมวดวิชาหลัก | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเอก | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
สอบประมวลความรู้ | สอบข้อเขียน | สอบข้อเขียน |
วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
รวม | 39 หน่วยกิต | 39 หน่วยกิต |
ศูนย์การศึกษาในที่ตั้ง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เลขที่ 148 ถนน เสรีไทย แขวง คลองจั่น เขต บางกะปิ กรุงเทพ ฯ 10240 โทรศัพท์ 0 2 727 3909, 0 2 727 3871 โทรสาร 0 2375 9164 อีเมล: sirin.p@nida.ac.th |
|
เรียนในเวลาราชการ : หน่วยกิตละ 1,500 บาท (ตลอดหลักสูตร 97,000 บาท)
หมายเหตุ: รวมค่าหนังสือและเอกสารประกอบการสอน ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานภายในประเทศ
1. ผู้บริหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน |
2. นักการเมืองและข้าราชการทางการเมือง |
3. บุคลากรในหน่วยงานราชการและภาคเอกชน |
4. อาจารย์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ |
5. ข้าราชการทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง |
6. อาชีพอิสระอื่น ๆ |