หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ

- ชื่อหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- ข้อกำหนดของหลักสูตร
- คุณสมบัติของผู้สมัคร
- โครงสร้างหลักสูตร
- เกณฑ์การให้คะแนน
- สถานที่จัดการเรียนการสอน
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- แนวทางการประกอบอาชีพ
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | (รป.ม.)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
---|
1. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป |
2. ผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมา ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนได้ อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ทางรัฐประศาสนศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและประเทศชาติ |
3. สร้างความตระหนักให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของธรรมาภิบาลในการบริหารงาน |
4. พัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความใส่ใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง |
---|
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายความรู้ และเข้าใจหลักการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารงานภาครัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพอย่างมีวินัยและอย่างมีความรับผิดชอบ |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำของตนในการสนับสนุนให้ผู้อื่นใช้คุณธรรม จริยธรรมในการแก้ไขปัญหา และให้ ความร่วมมือกับผู้อื่นในการจัดการในการแก้ไขปัญหา |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: วิเคราะห์ปัญหาโดยการคัดกรองข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารงานภาครัฐ |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาโดยยึดหลักความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 6: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะโดยการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้วยตนเอง เพื่อขยายองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ และสื่อสารข้อสรุปไปยังกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ |
ข้อกำหนดของหลักสูตร |
---|
|
|
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา |
2. ประสบการณ์การในการทำงาน ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน |
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน โดยการสอบข้องเขียนและ/หรือสัมภาษณ์ |
หมวดวิชา | แผน ก2 | |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | |
หมวดวิชาหลัก | 12 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเอก | 9 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก | 6 หน่วยกิต | |
วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | |
สอบประมวลความรู้ | สอบข้อเขียน | |
วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | |
รวม | 39 หน่วยกิต |
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร มี 9 สาขาวิชาเอก ดังนี้
1. องค์การและการจัดการ
2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์
3. การบริหารการเงินและการคลัง
4. นโยบายสาธารณะและการจัดการเชิงกลยุทธ์
5. การปกครองท้องถิ่น
6. การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา
7. การจัดการองค์การที่ไม่แสวงหากำไร
8. การจัดการสำหรับนักบริหาร
9. การบริหารงานเมือง
ศูนย์การศึกษาในที่ตั้ง
ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10 – 11
148 ถนน เสรีไทย แขวง คลองจั่น
เขต บางกะปิ กรุงเทพ ฯ 10240
โทรศัพท์ 0 2 727 3909, 0 2 727 3871 โทรสาร 0 2375 9164
อีเมล: info.gspa@nida.ac.th
- เรียนในเวลาราชการ หน่วยกิตละ 1,500 บาท (ตลอดหลักสูตร ประมาณ 97,000 บาท)
หมายเหตุ: รวมค่าบำรุงห้องสมุด ค่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานภายในประเทศ
แนวทางการประกอบอาชีพ |
---|
1. ผู้บริหารที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน |
2. นักการเมืองและข้าราชการทางการเมือง |
3. บุคลากรในหน่วยงานราชการและภาคเอกชน |
4. อาจารย์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ |
5. ข้าราชการทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง |
6. อาชีพอิสระอื่น ๆ |