หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

- ชื่อหลักสูตร
- ชื่อย่อหลักสูตร
- ปรัชญาของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- คุณสมบัติของผู้สมัคร
- โครงสร้างหลักสูตร
- สถานที่จัดการเรียนการสอน
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
- แนวทางการประกอบอาชีพ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
(Doctor of Philosophy Program in Public Administration)
ชื่อย่อหลักสูตร
Ph.D. (Public Administration)
การศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพิจารณาสภาพปัญหาในสังคมไทย เป็นศูนย์กลางในการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในลักษณะที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศและกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นความคิดทางด้าน สหวิทยาการระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สาขาสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การเมือง และการบริหาร รวมถึงพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านการพัฒนาโดยอาศัยการศึกษา วิจัย ทดสอบและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามหลักทฤษฎีในสภาพสังคมไทย
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่เป็นผู้มีความรู้เป็นเลิศทางวิชาการ ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์นำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในการพัฒนาหน่วยงานและประเทศชาติ
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความใส่ใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนมีคุณธรรมและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม
ELO 1: อธิบายหลักการและความรู้รายวิชาต่าง ๆ
(Being able to explain principles and knowledge of a learned subject)
ELO 2: นำความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิจัยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
(Apply research methodologies in quantitative and qualitative researches)
ELO 3: วิเคราะห์และสามารถนำความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบ
(Analyze and Apply PA-course related knowledge systematically)
ELO 4: สังเคราะห์รวบรวมความรู้ เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
(Combine and synthesize knowledge to present new findings necessary for the sustainable country development)
ELO 5: สามารถวินิจฉัยโดยยึดหลักความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
(Able to make affair and socially responsible assertion)
ELO 6: สร้างสรรค์นวัตกรรมทางความรู้และความคิดด้านรัฐประศาสนศาสตร์
(Create innovative public administration knowledge and concept)
ELO 7: มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถวางแผนปรับปรุงข้อบกพร่องที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(Being creative and able to plan the improvement that efficiently influences one’s self and others)
ELO 8: มีภาวะผู้นำที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ ประพฤติ ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในบริบของการทำงานเชิงวิชาการและวิชาชีพ
(Possession of leadership traits that create morally and ethically behavioral interaction under the academic and professional context)
แผน 2 (2.1)
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบัน ฯ กำหนดให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 หรือ หากเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 3.5 แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3.2 และต้องมีผลงานทางวิชาการแนบพร้อมใบสมัครอย่างน้อย 1 ชิ้น
3. มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบัน ฯ กำหนด
4. มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
5. สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และยอมรับข้อกำหนดที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ลงในวารสารทางวิชาการ ในกรณีไม่สามารถลาศึกษาเต็มเวลาได้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา โดยให้การรับรองว่าจะสนับสนุนผู้สมัครให้เรียนได้ตามเวลาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด และในกรณีนี้ผู้สมัครเมื่อได้รับเข้าเป็นนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 3 หน่วยกิต ในภาคฤดูร้อน
6. ผ่านกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรตามกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของสถาบัน ฯ
7. นักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา เพราะสอบไม่ผ่านในกระบวนการเรียนที่กำหนดไว้ไม่มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้อีก
8. มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับฯ ว่าด้วยการศึกษาของสถาบัน ฯ
แผนการศึกษาและจำนวนหน่วยกิต
แผน 2 (2.1) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย และมีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติมโดยจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
หมวดวิชา | จำนวนหน่วนกิต |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 2. หมวดวิชาหลัก 3. หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัย 4. หมวดวิชาเอก 5. สอบคุณสมบัติ 6. วิทยานิพนธ์ | 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) 9 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต สอบ 36 หน่วยกิต |
รวม | 66 หน่วยกิต |
สาขาวิชาเอก
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
- นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
- การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Public and Private Management)
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพ 10240
โทรศัพท์: 0 2727 3873, 0 2727 3889
โทรสาร: 0 2374 4977
อีเมล: supawan@nida.ac.th, thanaporn.kli@nida.ac.th
ปีที่ | ภาคการศึกษา | ค่าใช้จ่าย |
1 | ภาค 2 (กรณีไม่ได้รับยกเว้นเรียนภาษาอังกฤษ) | 65,000 บาท |
ภาคฤดูร้อน | 20,000 บาท | |
ภาค 1 | 65,000 บาท | |
2 | ภาค 2 | 47,000 บาท |
ภาคฤดูร้อน | 20,000 บาท | |
ภาค 1 | 47,000 บาท | |
3 | ภาค 2 | 42,000 บาท |
ภาคฤดูร้อน | 42,000 บาท | |
ภาค 1 | 78,500 บาท | |
4 | ภาค 2 | 78,500 บาท |
ค่าสมัคร สอบคุณสมบัติ (QE) | 1,000 บาท | |
| ประมาณค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 505,000 บาท |
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น อาจารย์ และนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศาสตร์ นักการเมือง ข้าราชการ รวมถึงอาชีพอิสระอื่น ๆ