สรุปการสัมมนา Development Administration: Human Behavior in the Philippines after the COVID 19 Pandemic by Dr. Rowena Alcoba

สรุปการสัมมนา
เรื่อง Development Administration: Human Behavior in the Philippines after the COVID 19 Pandemic
โดย Dr. Rowena Alcoba
จัดโดย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

การนำเสนอในหัวข้อดังกล่าว สามารถแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อ ดังนี้ :

1) การรับมือสถานการณ์โควิดของประเทศฟิลิปปินส์ 2) ผลกระทบต่อพฤติกรรมคนในสถานการณ์โควิด 19 และ 3) ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาในสภาวะวิถีชีวิตแบบใหม่

การรับมือสถานการณ์โควิดของประเทศฟิลิปปินส์
ในประเทศฟิลิปปินส์พบผู้ป่วยโควิด 19 เป็นรายแรกเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศใช้มาตรการปิดเมืองที่นานและเข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ บุคคลที่อายุต่ำกว่า 21 ปีและอายุมากกว่า 60 ปีไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้าน สมาชิกของครอบครัว 1 คนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้านเพื่อซื้ออาหารและยาที่จำเป็น และมีการประกาศเคอร์ฟิวช่วง 22.00 น. จนถึง 05. 00 น. ของวันใหม่ มีการปิดสำนักงาน ระบบการขนส่ง และโรงเรียนระหว่างวันที่ 15 มีนาคม และวันที่ 1 มิถุนายน 2563 โดยทั่วไปคนฟิลิปปินส์ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยหยุดพักอยู่ที่บ้าน สวมหน้ากากหน้ากาก และล้างมือ (Hapal, 2001)

ทั้งนี้สภาวะโควิดส่งผลต่อการว่างงานของชาวฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างมากด้านรายได้ของครัวเรือนเนื่องจากมาตรการกักตัวระดับชุมชน (Lee, 2020) ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นำเสนอผลการสำรวจประชาชนพบว่า ร้อยละ 38 รายได้ของตนลดลงกว่าร้อยละ 50 (Rivas, 2022) โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5 คิดเป็นจำนวนคนเท่ากับ 3.16 ล้านคน และเกิดกรณีการจ้างงานน้อยลงอยุ่ที่อัตราร้อยละ 16.1 คิดเป็นจำนวนคนเท่ากับ 7.62 ล้านคน

ยอดผู้ป่วยสะสม เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 เท่ากับ 3,545,680 คน และเสียชีวิตจำนวน 53,891 คน แม้จะมีมาตรการปิดเมืองอย่างเข้มงวดก็ยังคงมีการติดเชื้อและการเสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องมาจาก

1) การบริหารวิกฤตการณ์ที่ผิดพลาด อาทิ โรงพยาบาลอัดแน่นด้วยผู้ป่วย การจัดแยกผู้ป่วยไม่มีประสิทธิภาพ กระบวนการการติดต่อ/ติดตามผู้ป่วยและกระบวนการกักตัวผู้ป่วยไม่มีประสิทธิภาพ ความไม่เสมอภาคมีมากขึ้น และกฎเกณฑ์ซับซ้อนซึ่งทำให้ประชาชนปฏิบัติตามระเบียบวิธีเพื่อความปลอดภัยได้ยากขึ้น

2) ข้อผิดพลาดด้านวัคซีน จากความผิดพลาดในการเจรจาเพิ่มวัคซีนกับบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐ

3) การลงทุนด้านสาธารณสุขน้อยเกินไปต่อเนื่องเป็นมาหลายปี ดังนี้ 3.1 งบประมาณดำเนินการของสาธารณสุขในช่วงปี 2533 ถึงปี 2550 มีเพียงปีละ 11,000 ล้านเปโซต่อปี และ 3.2 งบประมาณดำเนินการของสาธารณสุขในช่วงปี 2553 มีเพียงปีละ 24,000 ล้านเปโซ

ผลกระทบต่อพฤติกรรมคนในสถานการณ์โควิด 19
1) ผลกระทบต่อทัศนคติและค่านิยม มีดังนี้ 1.1 การเสียสละและแนวคิดจิตอาสามีเพิ่มขึ้น 1.2 อัจฉริยลักษณ์และความสามารถในการปรับตัวมีเพิ่มขึ้น 1.3 ประชาชนมุ่งเข้าสู่ศาสนามากขึ้นในช่วงสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ 1.4 ประชาชนปฏิบัติต่อกันดียิ่งขึ้นและมีความอดทนต่อกันมากยิ่งขึ้น และ 1.5 สายสัมพันธ์ในครอบครัวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2) ผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านดิจิทัล มีดังนี้ 2.1 มีการนำวิทยาการดิจิทัลไปใช้มากขึ้น 2.2 มีการใช้ระบบการรักษาทางไกลมากขึ้น และ 2.3 มีการเชื่อมโยงด้านสังคมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

3) ผลกระทบต่อวิธีการดำเนินชีวิต มีดังนี้ 3.1 มีการรับวิธีการดำเนินชีวิตแบบป้องกันโรคมากขึ้น 3.2 มีการรับวิธีการเดินทางแบบออกแรงมากขึ้น อาทิ การขี่จักรยาน และ 3.3 เริ่มมีงานอดิเรกใหม่ๆ

4) ผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่าย มีดังนี้ 4.1 มีการการใช้จ่ายแบบระมัดระวัง 4.2 มีผู้บริโภคที่สนับสนุนตราสินค้าท้องถิ่นและตราสินค้ารายเล็กๆมากยิ่งขึ้น และ 4.3 มีการเปลี่ยนไปใช้วิธีรูป / รูปแบบการสั่งซื้อสินค้าตามระบบออนไลน์

5) ผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงาน มีดังนี้ 5.1 มีระดับพันธกิจและความทุ่มเทในการทำงานมากยิ่งขึ้น 5.2 มีความเต็มใจที่จะร่วมมือและแบ่งปันข้อมูลมากยิ่งขึ้น 5.3 มีระดับการไว้ใจและความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมากยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาในสภาวะวิถีชีวิตแบบใหม่
นัยยะที่สำคัญได้แก่

ใช้หลักการจิตอาสาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนา
สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านดิจิทัล
ใช้ประโยชน์จากการไว้วางใจและความเชื่อมั่นเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของสาธารณชน
จัดลำดับความสำคัญของความคิดริเริ่ม โครงการ และการจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขและสุขภาวะให้อยู่ในลำดับต้น
สร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานและใช้วิทยาการใหม่ๆเพื่อสนับสนุนการขนส่งพี่ประชาชนต้องออกแรงในการเดินทาง
เรียนรู้จากความสำเร็จของภาคีความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชนและแปลงให้เป็นการปฏิบัติการในการปฏิรูปทุกรูปแบบ

ท่านสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/HgiyYA6xvkY