หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ปรัชญาของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร
  การศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นในการพัฒนาความสามารถของนักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยขั้นสูงในแขนงวิชาต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปรัชญาการเรียนการสอน

ปรัชญาการเรียนการสอน
การเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้คำนึงถึงสภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • พิจารณาสภาพปัญหาในสังคมไทย เป็นศูนย์กลางในการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในลักษณะที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศและกระแส
    โลกาภิวัตน์ โดยเน้นความคิดทางด้านสหวิทยาการระหว่างสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การเมือง และการบริหาร เป็นต้น
  • พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านการพัฒนาโดยอาศัยการศึกษา วิจัย ทดสอบและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามหลักทฤษฎีในสภาพสังคมไทย เมื่อได้คำนึงถึงสภาวะดังกล่าวข้างต้น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จึงได้เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยในปัจจุบันได้แยกกลุ่มวิชาที่เน้น ความชำนาญออกเป็น 3 สาขาวิชาด้วยกัน คือ
    1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
    2) นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
    3) การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Public and Private Management)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  • เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่เป็นผู้มีความรู้เป็นเลิศทางวิชาการ ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อ แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหน่วยงานและประเทศชาติ
  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความใส่ใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจน มีคุณธรรมและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1: อธิบายหลักการและความรู้รายวิชาต่างๆ ที่เรียนได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2: นำความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือระเบียบวิจัยไปปรับใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3: วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์มาบูรณาการเชื่อมโยงกัน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4: สังเคราะห์รวบรวมความรู้ เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 5: สร้างสรรค์นวัตกรรมทางความรู้และความคิดด้านรัฐประศาสนศาสตร์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 6: มีภาวะผู้นำที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ ประพฤติ ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในบริบทของการทำงานเชิงวิชาการและวิชาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 7: มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถวางแผนปรับปรุงข้อบกพร่องที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 8: สามารถวินิจฉัยโดยยึดหลักความเป็นธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

ข้อกำหนดหลักสูตร

ข้อกำหนดหลักสูตร
สาขาวิชาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มีสาขาวิชาเอก 3 สาขา ดังนี้
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
  • นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
  • การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Public and Private Management)

 

โครงสร้างหลักสูตร

วิชา แบบ 2 (2.1)
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2. หมวดวิชาหลัก 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัย 12 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเอก 9 หน่วยกิต
5. สอบคุณสมบัติ สอบ
6. วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวม 66 หน่วยกิต

 

คำอธิบายรายวิชา

 

ระบบการจัดการศึกษา
  ในการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ (Semester) คือภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 และภาคฤดูร้อน (Summer Session) การศึกษาภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษา 15 สัปดาห์ ส่วนการศึกษาภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องมีชั่วโมงเรียนแต่ละวิชาเท่ากับชั่วโมงเรียนในภาคการศึกษาภาคปกติ

 

จำนวนหน่วยกิต
แบบ  2(2.1)  เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย และมีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติมโดยจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แบบ 2(2.1)
  • เป็นผู้ได้รับปริญญาโทหรือเที่ยบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้ เข้าเป็นนักศึกษา ดังนี้ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือสาขาด้านอื่นที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควร
  •  มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบัน ฯ กำหนด
  • ได้แต้มเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญามหาบัณฑิตอย่างน้อย 3.0 จากระบบ 4 แต้มหรือเทียบเท่า และให้คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครตามความเหมาะสม
  • มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือผู้บังคับบัญชาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
  • สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ในกรณีที่รับราชการหรือทำงานอื่นๆ เต็มเวลา ให้ทำหนังสือขออนุญาตให้ลาศึกษาเต็มเวลาจากผู้บังคับบัญชาระดับอธิบดีหรือเทียบเท่ามาแสดงเป็นหลักฐาน
    ในกรณีไม่สามารถลาศึกษาเต็มเวลาได้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา โดยให้การรับรองว่าจะสนับสนุนผู้สมัครให้เรียนได้ตามเวลาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด และในกรณีนี้ผู้สมัครเมื่อได้รับเข้าเป็นนักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 3 หน่วยกิต ในภาคฤดูร้อน
  • ผ่านกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรตามกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • นักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา เพราะสอบไม่ผ่านในกระบวนการเรียนที่กำหนดไว้ ไม่มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้อีก
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ ฯ ว่าด้วยการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (ประมาณการ) 505,000 บาท

แนวทางการประกอบอาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ
  • นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น อาจารย์ และนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศาสตร์ นักการเมือง ข้าราชการ รวมถึงอาชีพอิสระอื่น ๆ

 

แผนการรับสมัคร

แผนการสมัคร
  • ครั้งที่ 1 พฤษภาคม-กรกฎาคม
  • ครั้งที่ 2 สิงหาคม-ตุลาคม

**เปิดภาคการศึกษา เดือนมกราคม ของทุกปี**

ติดต่อหลักสูตร

ติดต่อหลักสูตร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10-11
เลขที่ 148  ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ  กรุงเทพ ฯ 10240
โทรศัพท์: 0-2727-3889 หรือ 02-727-3918
E-mail: dpathainida@gmail.com