หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน

ชื่อปริญญา

ชื่อปริญญาและชื่อย่อปริญญา
การจัดการมหาบัณฑิต (ธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน) | กจ.ม.

ปรัชญาการเรียนการสอน

ปรัชญาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ซึ่งเกิดจากหลักฐานที่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในด้านการจัดการยุคดิจิทัลและความยั่งยืน ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ
2. เพื่อสร้างผู้นำ และผู้บริหารในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อส่งเสริมความความเข้าใจ และความร่วมมือในด้านการจัดการดิจิทัลระหว่างบุคลากรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และผลการวิจัย อันจะนำไปสู่ แนวทางการขับเคลื่อนประเทศในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 1: อธิบายแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 2: ประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะด้านการจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วนในยุคดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 3: แสดงให้เห็นถึงทัศนคติความเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือ และความเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์การในยุคดิจิทัลบรรลุผล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 4: วิเคราะห์ปัจจัยความท้าทายและองค์ประกอบความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การในแต่ละภาคส่วน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ 5: พัฒนาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะจากการวิจัย การค้นคว้าทางวิชาการในด้านการจัดการ การกำกับดูแล และการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อขยายองค์ความรู้ และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขององค์การในแต่ละภาคส่วน

ข้อกำหนดหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร
  • แผน ก2 (ภาคปกติ) ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 9 วิชาหรือ 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม 36 หน่วยกิต
  • แผน ข (ภาคพิเศษ) ศึกษารายวิชาทั้งสิ้น 12 วิชาหรือ 36 หน่วยกิต  และวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต  รวม 36 หน่วยกิต

ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ
1. เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติ ให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี
4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด

โครงสร้างหลักสูตร

          1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
          2. โครงสร้าง หรือองค์ประกอบของหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก2 (ภาคปกติ) แผน ข (ภาคพิเศษ)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก 9 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ (ข้อเขียน) สอบข้อเขียน สอบข้อเขียน
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวม 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

สถานที่จัดการเรียนการสอน

สถานที่จัดการเรียนการสอน
ศูนย์การศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 10
148 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น
เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-727-3873,06-5052-4456
อีเมล: Suphatjit.lad@nida.ac.th

แก้ไขล่าสุดเมื่อ